บทความ

การประยุกต์ใช้ไคเซ็นกรณีศึกษาโรงงานผลิตแผ่นเจียรและแผ่นตัด

การประยุกต์ใช้ไคเซ็นกรณีศึกษาโรงงานผลิตแผ่นเจียรและแผ่นตัด ผู้แต่ง : ภัทริน เชี่ยวชาญวิทย์กุล เอกสาร : สถาบันเทคโนโลยีไทย - ญี่ปุ่น ความเป็นมา / หลักการและเหตุผล ปัจจุบันโรงงานผลิตและส่งออกแผ่นเจียรและแผ่นตัดขนาดต่างๆ ที่เป็นกรณีศึกษานั้นได้เปิดดำเนินการมาแล้วเป็นระยะเวลาประมาณ 30 ปี โดยมีกลุ่มลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งโรงงานผลิตและส่งออกแผ่นเจียรและแผ่นตัดดังกล่าวได้ใช้วิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ลักษณะเดิมมาโดยตลอด กล่าวคือไม่มีการพัฒนาใดๆเลย เมื่อพิจารณาจากสภาพปัจจุบันแล้ว พบว่า โรงงานมีปัญหาด้านการจัดการพื้นที่การทางานที่ไม่เหมาะสมกับการทำงาน การทำงานเกิดความไม่สะดวกและความสูญเปล่า เช่น เสียเวลาในการค้นหาสิ่งของหรืออุปกรณ์ที่ต้องใช้ อุปกรณ์อันตรายบางอย่าง เช่น กรรไกร ของมีคม ถูกวางทิ้งไว้อย่างไม่เป็นระเบียบ พื้นที่การทำงานไม่มีการทาความสะอาด มีฝุ่น คราบสกปรก ขยะที่เกิดจากการที่พนักงานนำของกินเข้าไปในพื้นที่การผลิต เป็นต้น รวมถึงพบว่ากระบวนการทำงานบางอย่างมีความสูญเปล่าเกิดขึ้นอยู่ เช่น พนักงานมีการทางานที่ฝืนธรรมชาติ หรือมีการใช้พนักงานทางานที่ไม่สร้างมูลค่าและไม่จ...

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ของพนักงาน ฝ่ายการผลิต : กรณีศึกษา บริษัท โตโยต้า โบโชคุ ฟิลเทรชั่น ซิสเต็ม (ประเทศไทย) จำกัด

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง  ( ไคเซ็น ) ของพนักงาน ฝ่ายการผลิต : กรณีศึกษา บริษัท โตโยต้า โบโชคุ ฟิลเทรชั่น ซิสเต็ม ( ประเทศไทย ) จำกัด ผู้แต่ง : เสนีย์  วงศ์แก้ว เอกสาร : งานนิพนธ์นี้หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มิถุนายน 2554 ความเป็นมา / หลักการและเหตุผล จากการนำไคเซ็นมาประยุกต์ใช้ในองค์กรต่าง ๆ ทำให้ได้รับความสนใจที่จะนำไคเซ็นมาเป็นกลยุทธ์ในการบริหารคุณภาพและการปรับปรุงการทางานให้ดีขึ้น บริษัท โตโยต้า โบโชคุ ฟิลเทรชั่น ซีสเต็ม ( ประเทศไทย ) จำกัด ดำเนินธุรกิจการผลิต ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น ไส้กรองน้ามัน หม้อกรองอากาศ ชุดกระดาษกรองน้ามัน ชุดกระดาษกรองอากาศ และวาว์ลควบคุมแรงดันน้ามัน ปัจจุบันได้พัฒนาความสามารถในการผลิต ไส้กรองน้ามันเครื่อง ได้ถึง 50 ล้านชิ้นต่อปี ทั้งนี้ บริษัท ฯ ได้นำหลักการของไคเซ็นมาประยุกต์ใช้ในองค์กร เพื่อที่จะนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เพื่อที่จะป้องกันหรือลดความสูญเสียของผลงานหรือชิ้นงานก่อนที่จะส่งต่อให้บุ...

ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ของพนักงานฝ่ายการผลิต บริษัท ทีซีแอล ทอมสัน อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด

ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ( ไคเซ็น ) ของพนักงานฝ่ายการผลิต บริษัท ทีซีแอล ทอมสัน อิเล็กทรอนิกส์ ( ประเทศไทย ) จำกัด ผู้แต่ง : อดิเรก เพ็ชร์รื่น และพุทธกาล รัชธร เอกสาร : วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา ( สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ) ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 มกราคม - มิถุนายน 2554 ความเป็นมา / หลักการและเหตุผล จากการนำไคเซ็นมาประยุกต์ใช้ในองค์กรต่างๆ ทำให้ได้รับความสนใจที่จะนำไคเซ็นมาเป็นกลยุทธ์ในการบริหารคุณภาพและการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น ซึ่งบริษัท ทีซีแอล ทอมสันอิเล็กทรอนิกส์ ( ประเทศไทย ) จำกัด ดำเนินธุรกิจการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูปและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องบันทึกและเครื่องเล่นวิดีโอ ดีวีดี หรือชิ้นส่วนต่างๆที่จัดเป็นชุดสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องรับโทรทัศน์โดยมียอดขายเฉลี่ยประมาณ 6.6 พันล้านบาทต่อปีทั้งนี้บริษัทฯ ได้นำหลักการของไคเซ็นมาประยุกต์ใช้ในองค์กร เพื่อที่จะนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงาน เพื่อที่จะป้องกันหรือลดความสูญเสียของผลงานหรือชิ้นงานก่อนที่จะส่งต่อให้บุคลากรหรือห...

การศึกษาปัจจัยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท โซนี่ ดีไวซ์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด

การศึกษาปัจจัยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ( ไคเซ็น ) ของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท โซนี่ ดีไวซ์ เทคโนโลยี ( ประเทศไทย ) จำกัด ผู้แต่ง : อุทัย กัลชาญสุพรรณ และอนุวัต เจริญสุข เอกสาร : บทความวิจัย สถาบันเทคโนโลยีไทย - ญี่ปุ่น ความเป็นมา / หลักการและเหตุผล         ปัญหาของการทำกิจกรราการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ( ไคเซ็น ) ของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท โซนี่ ดีไวซ์ เทคโนโลยี ( ประเทศไทย ) จำกัด คือ มีพนักงานบางส่วนไม่ได้ให้ความร่วมมือและไม่เข้าร่วมในการทำกิจกรรม พนักงานขาดความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงงาน รวมถึงผลงานในการปรับปรุงของพนักงานที่นำมาเสนอก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร และพนักงานที่ร่วมในกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ( ไคเซ็น ) ยังเป็นพนักงานกลุ่มเดิมๆ ส่งผลให้ KPI ของฝ่ายผลิตไม่ได้ตามนโยบายของบริษัทที่ตั้งไว้ว่า “ เป้าหมายไคเซ็น 2 ฉบับต่อพนักงานต่อคนต่อเดือน และพนักงานฝ่ายผลิตทุกคนมีส่วนร่วม 100%”           ดังนั้น การศึกษาปัจจัยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ( ไคเซ็น ) ขอ...