ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ของพนักงาน ฝ่ายการผลิต : กรณีศึกษา บริษัท โตโยต้า โบโชคุ ฟิลเทรชั่น ซิสเต็ม (ประเทศไทย) จำกัด

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ของพนักงาน
ฝ่ายการผลิต : กรณีศึกษา บริษัท โตโยต้า โบโชคุ ฟิลเทรชั่น ซิสเต็ม (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้แต่ง : เสนีย์  วงศ์แก้ว
เอกสาร : งานนิพนธ์นี้หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มิถุนายน 2554
ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล
จากการนำไคเซ็นมาประยุกต์ใช้ในองค์กรต่าง ๆ ทำให้ได้รับความสนใจที่จะนำไคเซ็นมาเป็นกลยุทธ์ในการบริหารคุณภาพและการปรับปรุงการทางานให้ดีขึ้น บริษัท โตโยต้า โบโชคุ ฟิลเทรชั่น ซีสเต็ม (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินธุรกิจการผลิต ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น ไส้กรองน้ามัน หม้อกรองอากาศ ชุดกระดาษกรองน้ามัน ชุดกระดาษกรองอากาศ และวาว์ลควบคุมแรงดันน้ามัน ปัจจุบันได้พัฒนาความสามารถในการผลิต ไส้กรองน้ามันเครื่อง ได้ถึง 50 ล้านชิ้นต่อปี ทั้งนี้ บริษัท ฯ ได้นำหลักการของไคเซ็นมาประยุกต์ใช้ในองค์กร เพื่อที่จะนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เพื่อที่จะป้องกันหรือลดความสูญเสียของผลงานหรือชิ้นงานก่อนที่จะส่งต่อให้บุคลากร หรือหน่วยงานอื่นที่จะต้องรับผิดชอบขั้นตอนต่อไป หากพนักงานทุกคนสามารถผลิตผลงานที่ตรงตามคุณสมบัติที่ลูกค้าของแต่ละคนต้องการแล้ว ความสูญเสียทั้งเวลา ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น นั่นหมายถึงต้นทุนการผลิตที่ลดน้อยลง ความสามารถในการยืนหยัด และการแข่งขันในเชิงธุรกิจเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นโดยบริษัทฯ ได้นาวิธีการของไคเซ็น มาใช้ โดยให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในวิธีของไคเซ็น ซึ่งจะประกอบด้วยกิจกรรม 5ส กิจกรรมระบบ ข้อเสนอแนะ ซึ่งในการนำวิธีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า ไคเซ็น มาใช้ในบริษัท ฯ นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากพนักงานทุกคนในบริษัทนับตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงพนักงานระดับล่างได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงวิธีการทำงานและกระบวนการทำงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และเพื่อให้การทาไคเซ็น นั้นประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้น การศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ของพนักงานฝ่ายการผลิต บริษัท โตโยต้า โบโชคุ ฟิลเทรชั่น ซิสเต็ม (ประเทศไทย) จำกัด จึงเป็นสิ่งที่ผู้ทำวิจัยได้ให้ความสนใจในการทำวิจัยครั้งนี้ เพื่อที่จะได้ทราบถึงระดับการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และมีปัจจัยอะไรบ้างที่จะส่งผลต่อ การมีส่วนร่วมของพนักงานในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการชี้แนะให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการทากิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านจิตวิทยากับการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท โตโยต้า โบโชคุ ฟิลเทรชั่น ซีสเต็ม (ประเทศไทย) จำกัด
2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับไคเซ็นกับการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท โตโยต้า โบโชคุ ฟิลเทรชั่น ซีสเต็ม (ประเทศไทย) จำกัด  

3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสารกับการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท โตโยต้า โบโชคุ ฟิลเทรชั่น ซีสเต็ม (ประเทศไทย) จำกัด
วิธีการหรือขั้นตอนการวิจัย
ขอบเขตงานวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ ของฝ่ายการผลิต บริษัท โตโยต้า โบโชคุ ฟิลเทรชั่น ซิสเต็ม (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีส่วนร่วมในการทาไคเซ็น ประกอบด้วย กิจกรรม 5ส กิจกรรมระบบข้อเสนอแนะ โดยแบ่งพนักงานระดับปฏิบัติการออกเป็น 5 กลุ่ม จานวน 496 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการของฝ่ายการผลิต บริษัทโตโยต้า โบโชคุ ฟิลเทรชั่น ซิสเต็ม (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีส่วนร่วมในการทำไคเซ็น ผู้วิจัยได้คำนวณหาขนาดของกลุ่ม (Yamane, 1973) ได้จำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่างจานวน 221 คน และสำรองอีก 5% รวมขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 232 คนโดยผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) คือพนักงานระดับปฏิบัติการในฝ่ายผลิตเนื่องจากมีจำนวนพนักงานระดับปฏิบัติการ มากที่สุด จากนั้นนำกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงมาทำการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling) โดยใช้แบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง ตามจำนวนตัวอย่างเท่ากับ 232 คน เพื่อเป็นตัวแทนกลุ่มตัวอย่างสาหรับการวิจัยในครั้งนี้
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) ประกอบด้วย
1.1 ปัจจัยด้านจิตวิทยา ได้แก่
1.1.1 ทัศนคติของพนักงาน
1.1.2 แรงจูงใจของพนักงาน
1.1.3 ขวัญและกาลังใจของพนักงาน
1.2 ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับไคเซ็น
1.3 ปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสาร 6
2. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ของพนักงานฝ่ายการผลิต
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น)
2. ทฤษฏีเกี่ยวกับปัจจัยด้านจิตวิทยา
3. ทฤษฏีการติดต่อสื่อสาร
ผลการวิจัย
การติดต่อสื่อสารต่อการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 3.02 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.479 ซึ่งมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง โดยแบ่งออกเป็น อันดับหนึ่ง ท่านได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไคเซ็น จากบอร์ดประชาสัมพันธ์ภายในบริษัท มีค่าเฉลี่ย 3.27 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.669 อันดับสอง ท่านได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไคเซ็น จากกิจกรรมประชาสัมพันธ์ที่แผนกฝ่ายผลิต มีค่าเฉลี่ย 3.26 และ มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.819 และอันดับสาม ท่านได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไคเซ็น
จากเอกสารสิ่งพิมพ์ที่ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ภายในบริษัท มีค่าเฉลี่ย 2.99 และมีส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 0.687
ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) อยู่ในระดับสูงมาก จานวน 204 ราย คิดเป็นร้อยละ 87.9 มีความรู้ระดับปานกลาง จำนวน 28 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.1 และพบว่าไม่มีกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ในระดับน้อยที่สุด
จิตวิทยาด้านทัศนคติด้านแรงจูงใจด้านขวัญและกำลังใจ พบว่ามีค่าเฉลี่ย 3.51 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.360 โดยมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย โดยแบ่งออกเป็น อันดับหนึ่ง ท่านคิดว่าการทำไคเซ็น ทำให้พนักงานมีโอกาสแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.34 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.602 อันดับสอง ท่านรู้สึกยินดีที่ได้เข้าร่วมในการทาไคเซ็น มีค่าเฉลี่ย 4.25 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.628 และอันดับสาม ท่านรู้สึกว่าการทางานของท่านเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากนาไคเซ็นมาใช้ มีค่าเฉลี่ย 4.14 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.657
การมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ผลการวิเคราะห์การมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรม 5ส พบว่ามีค่าเฉลี่ย 3.37 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.672 ซึ่งมีระดับความคิดเห็นปานกลาง โดยแบ่งออกเป็นอันดับหนึ่ง ท่านมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับกิจกรรม 5ส มีค่าเฉลี่ย 4.02 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.819 อันดับสอง ท่านปฏิบัติตามมาตรฐานของ 5ส ที่วางไว้ มีค่าเฉลี่ย 3.78 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.811 และอันดับสาม ท่านมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายเกี่ยวกับ 5ส มีค่าเฉลี่ย 3.51 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.985 ขณะที่การมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมระบบข้อเสนอแนะ พบว่ามีค่าเฉลี่ย 2.72 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.590 ซึ่งมีระดับความคิดเห็นปานกลาง โดยแบ่งออกเป็นอันดับหนึ่ง ท่านปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของระบบข้อเสนอแนะที่กำหนดไว้ มีค่าเฉลี่ย 3.29 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.858 อันดับสองท่านมี ส่วนร่วมในการเขียนข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทางาน มีค่าเฉลี่ย 2.94 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.898 และอันดับสาม ท่านมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายข้อเสนอแนะ มีค่าเฉลี่ย 2.74 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.898
ข้อจำกัดของงานวิจัยหรือข้อเสนอแนะ
1. ควรศึกษามีการศึกษาถึงลักษณะส่วนบุคคลของพนักงาน เพื่อที่องค์กรจะได้ทราบถึงผลของลักษณะส่วนบุคคล ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ที่องค์กรได้ดาเนินการ เพื่อที่องค์กรจะได้นาข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาพนักงานตามลักษณะ ส่วนบุคคลให้มีความสอดคล้อง และส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในระดับมาก

2. ควรศึกษากรอบแนวคิดในลักษณะอื่นๆ เพื่อที่จะทำการพัฒนากรอบแนวความคิด ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อการนาไปใช้ในการวางแผนพัฒนายกระดับการมีส่วนร่วม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การกำจัดความสูญเปล่า (7 Waste)

การประยุกต์ใช้ไคเซ็นกรณีศึกษาโรงงานผลิตแผ่นเจียรและแผ่นตัด

ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ของพนักงานฝ่ายการผลิต บริษัท ทีซีแอล ทอมสัน อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด